Translate

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป

การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป


การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป


1. ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.) เท่านั้น
2. สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
3. เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อน ห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มี การกดทับสาย เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน เช่น สายชนิด NYY พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
4. ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์
ขนาดเครื่องวัดฯ
(แอมแปร์)
 
เฟส
 
ขนาดสูงสุดของ
เมนสวิตช์(แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายเมนและ
(สายต่อหลักดิน)** ตร.มม.
 
แรงดันไฟฟ้าของ
สายเมน(โวลต์)
สายเมนในอากาศ
สายเมนในท่อ
5 (15)
1
16
4 (10)
4,10**(10)
300
15 (45)
1
50
10 (10)
16 (10)
300
30 (100)
1
100
25 (10)
50 (16)
300
50 (150)
1
125
35 (10)
70 (25)
300
15 (45)
3
50
10 (10)
16 (10)
750
30 (100)
3
100
25 (10)
50 (16)
750
50 (150)
3
125
35 (10)
70 (25)
750
200
3
250
95 (25)
150 (35)
750
400
3
500
240 (50)
500 (70)
750
 
 
 
 
 
หมายเหตุ
* สายต่อหลักดินขนาด 10 ตร.มม. ให้เดินในท่อ ส่วนสายเมนที่ใหญ่กว่า 500 ตร.มม. ให้ใช้สายต่อหลักดิน ขนาด 95 ตร.มม. เป็นอย่างน้อย
** สายเมนที่ใช้เดินในท่อฝังดินต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม.


5. ขนาดต่ำสุดของสายดินที่เดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับให้มีขนาดเป็นไปตาม ขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามตารางต่อไปนี้
ขนาดต่ำสุดของสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของ
เครื่องป้องกันกระแสเกิน (แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายดินตัวนำทองแดง
(ตร.มม.)
6 - 16
1.5
20 - 25
4
30 - 63
6
80 - 100
10
125 - 200
16
225 - 400
25
500
35
600 - 800
50
1,000
70
1,200 - 1,250
95
1,600 - 2,000
120
2,500
185
3,000 - 4,000
240
5,000 - 6,000
420
หมายเหตุ เครื่องป้องกันกระแสเกิน อาจจะเป็นฟิวส์หรือเบรกเกอร์ (สวิตช์อัตโนมัติ) ก็ได้

ตัวอย่างขนาดสายไฟฟ้าชนิดที่มีสายดินตาม มอก. 11-2531
ขนาดสายไฟพร้อมสายดิน (ตร.มม.)
สายดินใช้สายเดี่ยว (THW) ฉนวนสีเขียว (ตร.มม.)
สายไฟ
สายดิน
ขนาดสายดิน
2.5
1.5
2.5
4.0
2.5
2.5
6.0
4.0
4.0
10.0
4.0
4.0
16.0
6.0
6.0
25.0
6.0
6.0
35.0
10.0
10.0
หมายเหตุ ในกรณีที่สายดินเดินด้วยสายเดี่ยว สำหรับสายเส้นไฟตั้งแต่ขนาด 2.5 ตร.มม.ลงไป
ขอแนะนำให้ใช้ขนาดสายดินเท่ากับขนาดสายเส้นไฟ เช่น

ขนาดสายไฟ (ตร.มม.)
ขนาดสายดิน (ตร.มม.)
2.5
2.5
1.5
1.5
1.0
1.0

6. การเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานต่างๆ ให้เป็นไปตามตารางแสดงพิกัดกระแสไฟฟ้าดังนี้

ตารางแสดงขนาดกระแสของสายไฟฟ้า
ขนาดสาย
(ตร.มม.)
ขนาดกระแส (แอมแปร์)
วิธีการเดินสาย (ดูหมายเหตุ)
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
0.5
9
8
8
7
10
9
-
1
14
11
11
10
15
13
21
1.5
17
15
14
13
18
16
26
2.5
23
20
18
17
24
21
34
4
31
27
24
23
32
28
45
6
42
35
31
30
42
36
56
10
60
50
43
42
58
50
75
16
81
66
56
54
77
65
97
25
111
89
77
74
103
87
125
35
137
110
95
91
126
105
150
50
169
-
119
114
156
129
177
70
217
-
148
141
195
160
216
95
271
-
187
180
242
200
259
120
316
-
214
205
279
228
294
150
364
-
251
236
322
259
330
185
424
-
287
269
370
296
372
240
509
-
344
329
440
352
431
300
592
-
400
373
508
400
487
400
696
-
474
416
599
455
552
500
818
-
541
469
684
516
623


หมายเหตุ 1. วิธีการเดินสาย
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนเดินในอากาศ
 
สายแบบหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง
แบบ ก หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนเดินในอากาศ   แบบ ข หมายถึง สายแบบหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3เส้นเดินในฝ้าเพดาน
 
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้นเดินในท่อฝังดิน
แบบ ค หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อในอากาศ ในท่อฝัง ในผนังปูนฉาบหรือในท่อในฝ้าเพดาน
 
แบบ ง หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อฝังดิน
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้นฝังดินโดยตรง
 
แบบ จ หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) ฝังดินโดยตรง
 
ขอบคุณที่มา
 
www.mea.or.th 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น