Translate

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า 

1.มาตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า
    มารตรฐานการออกแบบและติดตั้งระบบไฟฟ้า มีความสำคัญยิ่ง ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย คงทนถาวร และเพื่อยืดอายุการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้อยู่ในระบบให้ยาวนานยิ่งขึ้น การติดตั้งระบบไฟฟ้า มีมาตรฐานกำหนดที่แน่นอน และมีหลายหน่วยงาน เช่น กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และหน่วยงานจากต่างประเทศที่ประเทศไทยนำมายึดถือ เช่น National Electric Code (NEC) Amarican National Standard Institute (ANSI) International Electrotechical Commission (IEC) เป็นต้น และหน่วยงานที่รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ คือ สำนักผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ที่รู้จักกันในชื่อ มอก.
2. ศัพท์เฉพาะ หรือคำจำกัดความ ด้านระบบไฟฟ้า ที่ควรรู้
     
   2.1   ระบบไฟฟ้าแรงสูง คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า เกิน 1,000 โวลท์
          2.2    ระบบไฟฟ้าแรงต่ำ คือ ระบบไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000 โวลท์

             2.3    โวลท์ (Volt.) คือ หน่วยวัดแรงดันไฟฟ้า
            2.4    แอมแปร์ ( Amp.) คือ หน่วยวัดกระแสไฟฟ้า
            2.5    วัตต์ (Watt.) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง
            2.6    หน่วย (Unit) คือ หน่วยของกำลังไฟฟ้าที่ใช้ ต่อชั่วโมง มีอุปกรณ์ที่ใช้วัด คือ กิโลวัตต์ฮอร์มิเตอร์ (Kwh. )
3.ระบบ 1 เฟส หรือ 3 เฟส คือ ระบบไฟฟ้าที่นำมาใช้ โดยแยกออกดังนี้
              3.1    ระบบ 1 เฟส จะมี 2 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE (มีไฟ) 1 เส้น และสาย Neutral (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้า 220 – 230 โวลท์
                      มีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz)
              3.2    ระบบ 3 เฟส จะมี 4 สายในระบบ ประกอบด้วย สาย LINE (มีไฟ) 3 เส้น และสายนิวตรอน (ไม่มีไฟ) 1 เส้น มีแรงดันไฟฟ้าระหว่าง สาย
                      LINE กับ LINE 380 – 400 โวลท์ และแรงดันไฟฟ้าระหว่างสาย LINE กับ Neutral 220 – 230 โวลท์ และมีความถี่ 50 เฮิร์ซ (Hz)
                      เช่นเดียวกัน
              3.3    สายดิน หรือ GROUND มีทั้ง 2 ระบบ ติดตั้งเข้าไปในระบบเพื่อความปลอดภัยของระบบ สายดินจะต้องต่อเข้าไปกับพื้นโลก
                      ตามมาตรฐานกำหนด

4. Power Factor
         คือ อัตราส่วน ระหว่างกำลังไฟฟ้าที่ใช้จริง (วัตต์) กับ กำลังไฟฟ้าปรากฏ หรือกำลังไฟฟ้าเสมือน (VA) ซึ่ง ค่าที่ดีที่สุด คือ มีอัตราส่วนที่เท่ากัน จะมีค่าเป็นหนึ่ง แต่ในทางเป็นจริงไม่สามารถทำได้ ซึ่งค่า Power Factor เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้ LOAD ซึ่ง Load ทางไฟฟ้ามีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
              1. Load ประเภท Resistive หรือ ความต้าน จะมีค่า Power Factor เป็นหนึ่ง อันได้แก่ หลอดไฟฟ้าแบบใส้ เตารีดไฟฟ้า หม้อหุงข้าว
                   เครื่องทำน้ำอุ่น เป็นต้น ถ้าหน่วยงานหรือองค์กร มี Load ประเภทนี้เป็นจำนวนมาก ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor
              2.  Load ประเภท Inductive หรือ ความเหนี่ยวนำ จะมีค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง อันได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ขดลวด เช่น มอเตอร์
                   บาลาสก์ของหลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดแกสดิสชาร์จ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าหน่วยงานหรือองค์กรส่วนใหญ่ จะหลีกเลี่ยง
                   Load ประเภทนี้ไม่ได้ และมีเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ ค่า Power Factor ไม่เป็นหนึ่ง และ Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor
                   ล้าหลัง ( Lagging ) จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงค่า Power Factor โดยการนำ Load ประเภทให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading )
                   มาต่อเข้าในวงจรไฟฟ้าของระบบ เช่น การต่อชุด Capacitor Bank เข้าไปในชุดควบคุมไฟฟ้า
              3.  Load ประเภท Capacitive หรือ Load ที่มีตัวเก็บประจุ (Capacitor) เป็นองค์ประกอบ Load ประเภทนี้จะมีใช้น้อยมาก จะมีค่า Power Factor
                   ไม่เป็นหนึ่ง Load ประเภทนี้จะทำให้ค่า Power Factor นำหน้า ( Leading ) คือกระแสจะนำหน้าแรงดัน จึงนิยมนำ Load ประเภทนี้
                   มาปรับปรุงค่า Power Factor ของระบบที่มีค่า Power Factor ล้าหลัง เพื่อให้ค่า Power Factor มีค่าใกล้เคียงหนึ่ง

ข้อดี ของการปรับปรุง ค่า Power Factor
                    - กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรไฟฟ้าลดลง
               - หม้อแปลง และสายเมนไฟฟ้า สามารถรับ Load เพิ่มได้มากขึ้น
               - ลดกำลังงานสูญเสียในสายไฟฟ้าลง
               - ลดแรงดันไฟฟ้าตก
               - เพิ่มประสิทธิภาพระบบไฟฟ้าทั้งระบบ

5. ระบบการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า
    หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าในปัจจุบัน คือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต เป็นผู้ผลิตไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไปจำหน่าย การไฟฟ้านครหลวง จะจำหน่ายไฟฟ้าให้ กทม.และปริมณฑล ส่วนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะจำหน่ายไฟฟ้าให้กับต่างจังหวัดของทุกภาคในประเทศ
    ระบบไฟฟ้าในภาคใต้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า แล้วแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงถึง 230 กิโลโวลท์ (KV.) แล้วส่งไปตามเมืองต่างๆ เข้าที่สถานีไฟฟ้าย่อย ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สถานีไฟฟ้าย่อยจะปรับลดแรงดันไฟฟ้าเหลือ 33 กิโลโวลท์ แล้วจ่ายเข้าในตัวเมือง และผู้ใช้ไฟฟ้าต้องติดตั้งหม้อแปลง เพื่อลดแรงดันไฟฟ้าให้เป็นแรงต่ำ เพื่อนำมาใช้งานต่อไป
กำลังไฟฟ้า
กำลังไฟฟ้ามีด้วยกัน 3 อย่างคือ
   -  กำลังไฟฟ้าจริง มีหน่วยเป็น วัตต์ (Watt)
    - กำลังไฟฟ้าแฝง มีหน่วยเป็น วาร์ (VAR)
    -  กำลังไฟฟ้าปรากฏ มีหน่วยเป็น โวลท์แอมป์ (VA)

6. หม้อแปลงไฟฟ้า
    หม้อแปลงไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับแปลงแรงดันไฟฟ้าให้สูงขึ้น หรือต่ำลง เพื่อให้เหมาะสมกับงานที่จะใช้ งานบางอย่างต้องการใช้แรงดันสูง เช่น การส่งพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้ามายังสถานีย่อย ต้องใช้หม้อแปลงแรงไฟฟ้าแรงสูง แต่ การใช้ในบ้านเรือน หรือ โรงงานต้องใช้หม้อแปลงไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งหม้อแปลงมีหลายชนิด หลายขนาด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน
7. ตู้ควบคุมระบบไฟฟ้า
             -  MDB. (Main distribution board ) เป็นตู้ควบคุมระบบไฟฟ้าหลัก มี Main Circuit Breaker เพื่อตัดต่อวงจรไฟฟ้าทั้งหมดของอาคาร
          -  SDB. (Sub distribution board ) เป็นตู้ควบคุมย่อย จ่ายกระแสไฟฟ้าไปตามตู้ PB. หรือ Load Center หลายๆ ตู้ ขึ้นอยู่กับขนาดของอาคาร
          -  PB ( Panel board ) หรือ Load Center เป็นแผง Circuit breaker ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ มีหลายขนาด
            ขึ้นอยู่กับจำนวนของ Load

8. การต่อลงดิน
        การต่อลงดิน คือการใช้ตัวนำทางไฟฟ้า ต่อเข้ากับวงจรไฟฟ้า หรือ บริภัณฑ์ไฟฟ้า ต่อเข้ากับพื้นโลกอย่างมั่นคง ถาวร การต่อลงดินมี
วัตถุประสงค์ เพื่อลดอันตรายที่อาจจะเกิดกับบุคคล และลดความเสียหายที่อาจจะเกิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้าและระบบไฟฟ้า

หน้าที่หลักของสายดิน มีอยู่ 2 ประการ คือ
        
1.
เมื่อเกิดแรงดันเกิน จะจำกัดแรงดันไฟฟ้าของวงจร ไม่ให้สูงจนอาจทำให้เครื่องใช้ ไฟฟ้า เสียหาย และลดแรงดันไฟฟ้าที่อาจเกิดขึ้นที่เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือ ส่วนประกอบ เนื่องจากการรั่ว หรือการเหนี่ยวนำ เพื่อลดอันตรายจากบุคคลที่ไปสัมผัส
          2. เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วลงดิน จะช่วยลดความเสียหายของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้า การต่อลงดินที่ถูกต้องจะช่วยให้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ป้องกันทำงานได้ตามที่ออกแบบไว้
ชนิดของการต่อลงดิน มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ
1. การต่อลงดินของระบบไฟฟ้า ( System Grounding)
2. การต่อลงดินของเครื่องอุปกรณไฟฟ้า ( Equipment Grounding )
3. การต่อลงดินของระบบป้องกันฟ้าผ่า ( Lightning Grounding )

9. ระบบป้องกันฟ้าผ่า
    เป็นระบบที่ต้องมีในระบบไฟฟ้า โดยมาตรฐานการติดตั้งเป็นตัวบังคับ ประเทศไทยใช้มาตรฐานของ IEC เป็นหลัก ระบบป้องกันฟ้าผ่าจะประกอบด้วย ระบบป้องกันฟ้าผ่าภายนอกอาคาร และระบบป้องกันฟ้าผ่าภายในอาคาร ระบบป้องกันฟ้าผ่า มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ป้องกันความเสียหายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้า และบริภัณฑ์ต่างๆ อันเนื่องมาจากฟ้าผ่า
10. อุปกรณ์ตัดตอน หรืออุปกรณ์ปลดวงจร
        อุปกรณ์ตัดตอน หรือ อุปกรณ์ปลดวงจร มีหน้าที่ ตัดตอนวงจรไฟฟ้าออกยามไม่ต้องการให้มีกระไฟฟ้าไหลในระบบ เช่น การซ่อมแซม และเพื่อ ป้องกันอันตรายต่อ ระบบ อันเนื่องมาจาก การใช้กระแสไฟฟ้าเกินพิกัด หรือ เกิดการลัดวงจร อุปกรณ์ตัดตอน ที่ใช้กันส่วนใหญ่ในปัจจุบัน คือ ฟิวส์ และ เซอร์กิต เบรกเกอร์ (CB.) แต่การใช้งานและ การออกแบบติดตั้ง ต้องใช้ขนาดและรูปแบบที่เหมาะสมกับงาน มิฉะนั้นอุปกรณ์ดังกล่าวจะไม่ทำงานตามที่ได้ออกแบบไว้ เช่น การเลือกขนาด CB สูงเกินไป เมื่อเกิดปัญหาหรือกระแสไหลเกินพิกัดของสาย จะทำให้ อุปกรณ์ จะไม่ตัดวงจร และเกิดความเสียหายเกิดขึ้นตามมา เช่น สายไหม้ หรือ อันตรายต่อหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น

ขอบคุณที่มา
http://homepage.eng.psu.ac.th/adm/akarn/electric-basic.htm

การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป

การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป


การเลือกขนาดสายไฟ ตามมิเตอร์ไฟบ้านสำหรับผู้สร้างบ้านใหม่ และบุคคลทั่วไป


1. ใช้เฉพาะสายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มีเครื่องหมาย มอก.) เท่านั้น
2. สายไฟฟ้าชนิดที่ใช้เดินภายในอาคารห้ามนำไปใช้เดินนอกอาคาร เพราะแสงแดดจะทำให้ฉนวนแตกกรอบชำรุด สายไฟชนิดที่ใช้เดินนอกอาคารมักจะมีการเติมสารป้องกันแสงแดดไว้ในเปลือกหรือ ฉนวนของสาย สารป้องกันแสงแดดส่วนใหญ่ที่ใช้กันมากนั้นจะเป็นสีดำ แต่อาจจะเป็นสีอื่นก็ได้ การเดินร้อยในท่อก็มีส่วนช่วยป้องกันฉนวนของสายจากแสงแดดได้ในระดับหนึ่ง
3. เลือกใช้ชนิดของสายไฟให้เหมาะสมกับสภาพการติดตั้งใช้งาน เช่น สายไฟชนิดอ่อน ห้ามนำไปใช้เดินยึดติดกับผนังหรือลากผ่านบริเวณที่มี การกดทับสาย เนื่องจากฉนวนของสายไม่สามารถรับแรงกดกระแทกจากอุปกรณ์จับยึดสายได้ การเดินสายใต้ดินก็ต้องใช้ชนิดที่เป็นสายใต้ดิน เช่น สายชนิด NYY พร้อมทั้งมีการเดินร้อยในท่อเพื่อป้องกันสายใต้ดินไม่ให้เสียหาย เป็นต้น
4. ขนาดของสายไฟฟ้าต้องเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ ใช้งาน และสอดคล้องกับขนาดของฟิวส์หรือสวิตช์อัตโนมัติ (เบรกเกอร์) ที่ใช้ สำหรับขนาดสายเมนและสายต่อหลักดินนั้นก็ต้องสอดคล้องกับขนาดของเมนสวิตช์และ ขนาดของเครื่องวัดฯ ด้วย ตามตารางต่อไปนี้
ขนาดสายไฟฟ้าตามขนาดของเมนสวิตช์
ขนาดเครื่องวัดฯ
(แอมแปร์)
 
เฟส
 
ขนาดสูงสุดของ
เมนสวิตช์(แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายเมนและ
(สายต่อหลักดิน)** ตร.มม.
 
แรงดันไฟฟ้าของ
สายเมน(โวลต์)
สายเมนในอากาศ
สายเมนในท่อ
5 (15)
1
16
4 (10)
4,10**(10)
300
15 (45)
1
50
10 (10)
16 (10)
300
30 (100)
1
100
25 (10)
50 (16)
300
50 (150)
1
125
35 (10)
70 (25)
300
15 (45)
3
50
10 (10)
16 (10)
750
30 (100)
3
100
25 (10)
50 (16)
750
50 (150)
3
125
35 (10)
70 (25)
750
200
3
250
95 (25)
150 (35)
750
400
3
500
240 (50)
500 (70)
750
 
 
 
 
 
หมายเหตุ
* สายต่อหลักดินขนาด 10 ตร.มม. ให้เดินในท่อ ส่วนสายเมนที่ใหญ่กว่า 500 ตร.มม. ให้ใช้สายต่อหลักดิน ขนาด 95 ตร.มม. เป็นอย่างน้อย
** สายเมนที่ใช้เดินในท่อฝังดินต้องไม่เล็กกว่า 10 ตร.มม.


5. ขนาดต่ำสุดของสายดินที่เดินไปยังอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือเต้ารับให้มีขนาดเป็นไปตาม ขนาดปรับตั้งของเครื่องป้องกันกระแสเกินตามตารางต่อไปนี้
ขนาดต่ำสุดของสายดินของเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า
พิกัดหรือขนาดปรับตั้งของ
เครื่องป้องกันกระแสเกิน (แอมแปร์)
ขนาดต่ำสุดของสายดินตัวนำทองแดง
(ตร.มม.)
6 - 16
1.5
20 - 25
4
30 - 63
6
80 - 100
10
125 - 200
16
225 - 400
25
500
35
600 - 800
50
1,000
70
1,200 - 1,250
95
1,600 - 2,000
120
2,500
185
3,000 - 4,000
240
5,000 - 6,000
420
หมายเหตุ เครื่องป้องกันกระแสเกิน อาจจะเป็นฟิวส์หรือเบรกเกอร์ (สวิตช์อัตโนมัติ) ก็ได้

ตัวอย่างขนาดสายไฟฟ้าชนิดที่มีสายดินตาม มอก. 11-2531
ขนาดสายไฟพร้อมสายดิน (ตร.มม.)
สายดินใช้สายเดี่ยว (THW) ฉนวนสีเขียว (ตร.มม.)
สายไฟ
สายดิน
ขนาดสายดิน
2.5
1.5
2.5
4.0
2.5
2.5
6.0
4.0
4.0
10.0
4.0
4.0
16.0
6.0
6.0
25.0
6.0
6.0
35.0
10.0
10.0
หมายเหตุ ในกรณีที่สายดินเดินด้วยสายเดี่ยว สำหรับสายเส้นไฟตั้งแต่ขนาด 2.5 ตร.มม.ลงไป
ขอแนะนำให้ใช้ขนาดสายดินเท่ากับขนาดสายเส้นไฟ เช่น

ขนาดสายไฟ (ตร.มม.)
ขนาดสายดิน (ตร.มม.)
2.5
2.5
1.5
1.5
1.0
1.0

6. การเลือกใช้ขนาดสายไฟฟ้าให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานต่างๆ ให้เป็นไปตามตารางแสดงพิกัดกระแสไฟฟ้าดังนี้

ตารางแสดงขนาดกระแสของสายไฟฟ้า
ขนาดสาย
(ตร.มม.)
ขนาดกระแส (แอมแปร์)
วิธีการเดินสาย (ดูหมายเหตุ)
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
ท่อโลหะ
ท่ออโลหะ
0.5
9
8
8
7
10
9
-
1
14
11
11
10
15
13
21
1.5
17
15
14
13
18
16
26
2.5
23
20
18
17
24
21
34
4
31
27
24
23
32
28
45
6
42
35
31
30
42
36
56
10
60
50
43
42
58
50
75
16
81
66
56
54
77
65
97
25
111
89
77
74
103
87
125
35
137
110
95
91
126
105
150
50
169
-
119
114
156
129
177
70
217
-
148
141
195
160
216
95
271
-
187
180
242
200
259
120
316
-
214
205
279
228
294
150
364
-
251
236
322
259
330
185
424
-
287
269
370
296
372
240
509
-
344
329
440
352
431
300
592
-
400
373
508
400
487
400
696
-
474
416
599
455
552
500
818
-
541
469
684
516
623


หมายเหตุ 1. วิธีการเดินสาย
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนเดินในอากาศ
 
สายแบบหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง
แบบ ก หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนเดินในอากาศ   แบบ ข หมายถึง สายแบบหุ้มฉนวนมีเปลือกเดินเกาะผนัง
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3เส้นเดินในฝ้าเพดาน
 
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้นเดินในท่อฝังดิน
แบบ ค หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อในอากาศ ในท่อฝัง ในผนังปูนฉาบหรือในท่อในฝ้าเพดาน
 
แบบ ง หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) เดินในท่อฝังดิน
สายแกนเดียวหุ้มฉนวนไม่เกิน 3 เส้นฝังดินโดยตรง
 
แบบ จ หมายถึง สายแกนเดียวหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 เส้น หรือสายหุ้มฉนวนมีเปลือกไม่เกิน 3 แกน (ไม่ต้องนับสายดิน) ฝังดินโดยตรง
 
ขอบคุณที่มา
 
www.mea.or.th 

ความรู้เกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า

วงจรไฟฟ้า
                         วงจรไฟฟ้า หมายถึง ทางเดินของกระแสไฟฟ้าซึ่งไหลมาจากแหล่งกำเนิดผ่านตัวนำ และเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลด แล้วไหลกลับไปยัง  แหล่งกำเนิดเดิม
                        วงจรไฟฟ้าประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 3 ส่วน คือ
   1. แหล่งกำเนิดไฟฟ้า หมายถึง แหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าไปยังวงจรไฟฟ้า เช่นแบตเตอรี่
   2. ตัวนำไฟฟ้า หมายถึง สายไฟฟ้าหรือสื่อที่จะเป็นตัวนำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งต่อระหว่างแหล่งกำเนิดกับเครื่องใช้ไฟฟ้า
   3. เครื่องใช้ไฟฟ้า หมายถึง เครื่องใช้ที่สามารถเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานรูปอื่น ซึ่งจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โหลด      สวิตซ์ไฟฟ้านั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานให้มีความสะดวกและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ถ้าไม่มีสวิตซ์ไฟฟ้าก็จะไม่มีผลต่อการทำงานวงจรไฟฟ้าใดๆ เลย
                        การต่อวงจรไฟฟ้าสามารถแบ่งวิธีการต่อได้ 3 แบบ คือ
   1. วงจรอนุกรม เป็นการนำเอาเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดหลายๆ อันมาต่อเรียงกันไปเหมือนลูกโซ่ กล่าวคือ ปลายของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 1 นำไปต่อกับต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวที่ 2 และต่อเรียงกันไปเรื่อยๆ จนหมด แล้วนำไปต่อเข้ากับแหล่งกำเนิด การต่อวงจรแบบอนุกรมจะมีทางเดินของกระแสไฟฟ้าได้ทางเดียวเท่านั้น ถ้าเกิดเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวใดตัวหนึ่งเปิดวงจรหรือขาด จะทำให้วงจรทั้งหมดไม่ทำงาน
                       คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรอนุกรม
1. กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านเท่ากันตลอดวงจร
2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร เมื่อนำมารวมกันแล้วจะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าเท่ากับผลรวมของความต้านทานแต่ละตัวในวงจรรวมกัน
   2. วงจรขนาน เป็นการนำเอาต้นของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกๆ ตัวมาต่อรวมกัน และต่อเข้ากับแหล่งกำเนิดที่จุดหนึ่ง นำปลายสายของทุกๆ ตัวมาต่อรวมกันและนำไปต่อกับแหล่งกำเนิดอีกจุดหนึ่งที่เหลือ ซึ่งเมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละอันต่อเรียบร้อยแล้วจะกลายเป็นวงจรย่อย กระแสไฟฟ้าที่ไหลจะสามารถไหลได้หลายทางขึ้นอยู่กับตัวของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อขนานกัน ถ้าเกิดในวงจรมีเครื่องใช้ไฟฟ้าตัวหนึ่งขาดหรือเปิดวงจร เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เหลือก็ยังสามารถทำงานได้ ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยปัจจุบันจะเป็นการต่อวงจรแบบนี้ทั้งสิ้น
                       คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรขนาน
1. กระแสไฟฟ้ารวมของวงจรขนาน จะมีค่าเท่ากับกระแสไฟฟ้าย่อยที่ไหลในแต่ละสาขาของวงจรรวมกัน
2. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมส่วนต่างๆ ของวงจร จะเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่แหล่งกำเนิด
3. ความต้านทานรวมของวงจร จะมีค่าน้อยกว่าความต้านทานตัวที่น้อยที่สุดที่ต่ออยู่ในวงจร
   3. วงจรผสม เป็นวงจรที่นำเอาวิธีการต่อแบบอนุกรม และวิธีการต่อแบบขนานมารวมให้เป็นวงจรเดียวกัน ซึ่งสามารถแบ่งตามลักษณะของการต่อได้       2 ลักษณะดังนี้
3.1 วงจรผสมแบบอนุกรม-ขนาน เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างอนุกรมก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบขนานอีกครั้งหนึ่ง
3.2 วงจรผสมแบบขนาน-อนุกรม เป็นการนำเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดไปต่อกันอย่างขนานก่อน แล้วจึงนำไปต่อกันแบบอนุกรมอีกครั้งหนึ่ง
                         คุณสมบัติที่สำคัญของวงจรผสม
เป็นการนำเอาคุณสมบัติของวงจรอนุกรม และคุณสมบัติของวงจรขนานมารวมกัน ซึ่งหมายความว่าถ้าตำแหน่งที่มีการต่อแบบอนุกรม ก็เอาคุณสมบัติ      ของวงจรการต่ออนุกรมมาพิจารณา ตำแหน่งใดที่มีการต่อแบบขนาน ก็เอาคุณสมบัติของวงจรการต่อขนานมาพิจารณาไปทีละขั้นตอน
                         ความแตกต่างของวงจรเปิด-วงจรปิด
   1. วงจรเปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลได้ครบวงจร ซึ่งเป็นผลทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรไม่สามารถจ่ายพลังงานออกมาได้    สาเหตุของวงจรเปิดอาจเกิดจากสายหลุด สายขาด สายหลวม สวิตซ์ไม่ต่อวงจร หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชำรุด เป็นต้น
   2. วงจรปิด คือวงจรที่กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร ทำให้โหลดหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต่ออยู่ในวงจรนั้นๆ ทำงาน
                          ความหมายทางไฟฟ้า
   1. แรงดันไฟฟ้า หรือแรงเคลื่อนไฟฟ้า หมายถึงแรงที่ดันให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านความต้านทานของวงจรไปได้ ใช้แทนด้วยตัว E มีหน่วยวัดเป็น    โวลท์ (V)
   2. กระแสไฟฟ้า หมายถึงการเคลื่อนที่ของอิเล็คตรอนอิสระจากอะตอมหนึ่งไปยังอะตอมหนึ่ง จะไหลมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความต้านทานของวงจร      ใช้แทนด้วยตัว I มีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (A)
   3. ความต้านทานไฟฟ้า หมายถึงตัวที่ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ซึ่ง อยู่ในรูปของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด เช่น แผ่นลวดความร้อนของเตารีด หม้อหุงข้าว หลอดไฟฟ้า เป็นต้น เครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าให้ไหลในจำนวนจำกัด ใช้แทนด้วยตัว    R  มีหน่วยวัดเป็นโอห์ม (W )
   4. กำลังงานไฟฟ้า หมายถึงอัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรืออัตราการทำงาน ได้จากผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า ใช้แทนด้วยตัว P มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ (W)
   5. พลังงานไฟฟ้า หมายถึงกำลังไฟฟ้าที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง มีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต ใช้แทนด้วยตัว W
   6. ไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าช็อต หมายถึงการที่ไฟฟ้าไหลผ่านจากสายไฟฟ้าเส้นหนึ่งไปยังอีกเส้นหนึ่ง โดยไม่ผ่านเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือโหลดใดๆ    สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากฉนวนของสายไฟฟ้าชำรุด และมาสัมผัสกันจึงมีความร้อนสูง มีประกายไฟ ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ถ้าบริเวณนั้นมีวัสดุไวไฟ
   7. ไฟฟ้าดูด หมายถึงการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง หัวใจทำงานผิดจังหวะ เต้นอ่อนลงจนหยุดเต้น      และเสียชีวิตในที่สุด แต่อย่างไรก็ตามความรุนแรงของอันตรายจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของกระแส เวลาและเส้นทางที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน
   8. ไฟฟ้ารั่ว หมายถึงสายไฟฟ้าเส้นที่มีไฟจะไหลไปสู่ส่วนที่เป็นโลหะของเครื่องใช้ไฟฟ้าถ้า ไม่มีสายดินก็จะทำให้ได้รับอันตรายแต่ถ้ามีสายดินก็จะทำให้กระแสไฟฟ้าที่ไหล อยู่นั้นไหลลงดินแทน
   9. ไฟฟ้าเกิน หมายถึงการใช้ไฟฟ้าเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ตัดตอนทางไฟฟ้า ทำให้มีการปลดวงจรไฟฟ้า อาการนี้สังเกตได้คือจะเกิดหลังจากที่ได้           เปิดใช้ไฟฟ้าสักครู่ หรืออาจนานหลายนาทีจึงจะตรวจสอบเจอ

 ขอบคุณที่มา
http://www.school.net.th/library/create-web/10000/technology/10000-7138.html

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การเลือกขนาดแอร์ให้เหมาะสมกับห้อง



BTU (British Thermal Unit) คือ ขนาดทำความเย็นของ เครื่องปรับอากาศ มีหน่วยดังนี้ 1 ตันความเย็น เท่ากับ 12000 BTU/hr. เราควรเลือกขนาด BTU ให้เหมาะสมกับขนาด ของห้อง ที่จะทำการติดตั้ง โดยสามารถเลือก ได้จากตารางด้านขวานี้
Btu/h
ห้องปกติ
ห้องโดนแดด
9,000
12-15 ตร.ม.
11-14 ตร.ม.
12,000
16-20 ตร.ม.
14-18 ตร.ม.
18,000
24-30 ตร.ม.
21-27 ตร.ม.
21,000
28-35 ตร.ม.
25-32 ตร.ม.
24,000
32-40 ตร.ม.
28-36 ตร.ม.
25,000
35-44 ตร.ม.
30-39 ตร.ม.
30,000
40-50 ตร.ม.
35-45 ตร.ม.
35,000
48-60 ตร.ม.
42-54 ตร.ม.
48,000
64-80 ตร.ม.
56-72 ตร.ม.
80,000
80-100 ตร.ม.
70-90 ตร.ม.

ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ในการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ
1.     จำนวนและขนาดของหน้าต่าง
2.     ทิศที่แดดส่องหรือทิศที่ตั้งของห้อง
3.     วัสดุหลังคามีฉนวนกันความร้อนหรือไม
4.     จำนวนคนทีใช้งานในห้อง
ปัจจัยที่ควรพิจารณาเพิ่มเติม ในการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ
ทำไมต้องเลือก BTU ให้พอเหมาะ
     BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพ ในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัว และที่สำคัญราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงาน
BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงาน และเครื่องปรับอากาศเสียเร็ว
การคำนวณ BTU ของเครื่องปรับอากาศ
BTU = พื้นที่ห้อง (กว้าง*ยาว)*ตัวแปร
ตัวแปรความร้อน แบ่งได้ 2ระดับ
     700 ห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน
     800 ห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก กรณีที่เพดานสูงกว่า 2.5 เมตร ให้บวกเพิ่มจากเดิม 5%
ค่าใช้จ่าย (พลังงาน) ในการใช้งาน เครื่องปรับอากาศ (แอร์ แอร์บ้าน)
เครื่องปรับอากาศ เป็น อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานมากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงโดยเห็นได้จาก พลังงานไฟฟ้าโดยรวมของเครื่องใช้ไฟฟ้า ในบ้าน 50-80 เปอร์เซ็นต์ เป็นพลังงานที่ใช้กับ เครื่องปรับอากาศแต่อย่างไรก็ตามด้วยอุณหภูมิบ้านเราร้อนขึ้นเรื่อยๆ เครื่องปรับอากาศก็มีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเราควรจำเป็นทำความเข้าใจเรื่องค่าใช้จ่ายพลังงาน เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการเลือกซื้อ เครื่องปรับอากาศ  ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างเหมาะสม และไม่เกินความจำเป็น
Type
Btu/h
Watt
จำนวนหน่วยที่ใช้/1 ชั่วโมง
ระยะเวลา/วัน
หน่วย/เดือน
ค่าไฟ
ติดหน้าต่าง
9000
920
0.92
8 ชั่วโมง คอมเพรสเซอร์ทำงาน 6 ชั่วโมง
165.6
418.97
12000
1150
1.15
207.0
523.71
24000
2900
2.99
538.2
1,361.65
ติดผนัง
9000
680
0.68
122.4
309.67
12000
1130
1.13
203.4
514.60
24000
2490
2.49
448.2
1,133.92
ตั้ง/แขวน
12000
1330
1.33
239.4
605.68
24000
2710
2.71
487.8
1,234.13


สำหรับ เครื่องปรับอากาศขนาด 12000 BTU ถ้าปรับอุณภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศา (นับจาก 25 องศา) เป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง/วัน ช่วยชาติประหยัดไฟได้วันละ 2บาท/วัน 60บาท/เดือน คิดเป็น 720บาท/ปี ต่อครัวเรือน





รายการคำนวนหาขนาด BTU ขนาดห้อง [ ตารางเมตร ]่
ขนาดเครื่อง (BTU)
ห้องนอน
ห้องนอน
โดนแดด
ห้องรับแขก
ห้องรับแขก
โดนแดด
ห้องทำงาน
ห้องทำงาน
โดนแดด
9000
09 - 16
09 - 14
09 - 16
09 - 14
09 - 14
09 - 14
12000
16 - 22
14 - 20
16 - 20
14 - 18
14 - 18
14 -16
15300
20 - 28
18 - 26
20 - 26
18 - 23
18 - 23
15 - 20
18000
24 - 33
21 - 30
24 - 30
21 - 27
21 - 27
18 - 24
20800
28 - 38
24 - 35
28 - 35
24 - 31
24 - 31
21 - 28
22800
30 - 42
27 - 38
30 - 38
27 - 34
27 - 34
23 - 30
27200
36 - 50
32 - 45
36 - 45
32 - 41
32 - 41
27 - 36
32800
44 - 60
38 - 55
44 - 55
38 - 49
38 - 49
33 - 44
38000
51 - 70
44 - 63
51 - 63
44 - 57
44 - 57
38 - 51
53000
71 - 97
62 - 88
71 - 88
62 - 80
62 - 80
53 - 71
64000
86 - 118
75 - 107
86 - 107
75 - 97
75 - 97
64 - 86



ตารางเปรียบเทียบค่าไฟฟ้า










คำนวณแอร์เบอร์ 5 ที่ EER

10.6

คำนวณที่ 1 เดือนมี 30 วัน





คำนวณแอร์ีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีีี Neo - Tech EER
14.98










ตารางคำนวณ
No.4
No.5
Neo-Tech
No.4
No.5
Neo-Tech
No.4
No.5
Neo-Tech
No.4
No.5
Neo-Tech
จำนวนชั่วโมงที่ใช้

8


12


16


24

9000 BTU
569
516
365
854
773
547
1139
1031
730
1708
1547
1094
12000 BTU
759
687
486
1139
1031
730
1518
1375
973
2277
2062
1459
18000 BTU
1139
1031
730
1708
1547
1094
2277
2062
1459
3416
3093
2189
20000 BTU
1265
1146
811
1898
1718
1216
2530
2291
1621
3795
3437
2432
25000 BTU
1581
1432
1013
2372
2148
1520
3163
2864
2027
4744
4296
3040
30000 BTU
1898
1718
1216
2846
2578
1824
3795
3437
2432
5693
5155
3648